สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์

Aug 26, 2021
604 views
0 share

พระผู้ทรงเป็น “มงคลนาม”

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สรรพวิสุทธิมหุติมงคล อเนกนภดลดารารัตน์ สมันตบริพัตรวโรภาส อดิศรราชจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวโรรส วิสุทธิสมมตวโรภโตปักษ์ อุกฤษฐศักดิ์ อัครวรราชกุมาร(ศรก) พระราชโอรสลำดับที่ ๕๓ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และลำดับที่ ๕ ใน สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ (พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) ประสูติ ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร ห้องเขียว ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ (แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา จุลศักราช ๑๒๔๗) เมื่อแรกชาววังระบุพระนามว่า "ทูลกระหม่อมดาวร่วง" เพราะในคืนวันประสูติมีดาวร่วงมากจนเห็นเป็นสาย สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงเรียก "ลูกเอียด“ในราชสำนักจึงระบุพระนามว่า "ทูลกระหม่อมเอียดใหญ่“ ได้ทรงประชวรด้วยพระโรคบิด มีพระอาการพระองค์ร้อนจัด พระอาเจียนบ่อยๆ พระอาการปวดเบ่ง พระบังคนเหลวบ่อยครั้ง มีพระเสมหะและพระโลหิตเจือ ประชวรอยู่ ๑๘ วัน ได้สิ้นพระชนม์เวลา ๗ ทุ่ม ๒๔ นาที เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร พระชนมายุ ๑ ปี ๖ เดือน (๕๕๐ วัน) เป็นที่ทรงพระอาลัยเศร้าโศกแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นที่ยิ่ง ทรงประชวรพระวาโยเป็นอันมาก

“โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลของแผ่นดิน”

หลังการจัดตั้งคอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลได้ ๒ เดือน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ประชวรและสิ้นพระชนม์ระหว่างที่คณะคอมมิตีกำลังสร้างโรงพยาบาล จึงได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงคณะกรรมการสร้างโรงพยาบาลตอนหนึ่งว่า
“ภายหลังเกิดวิบัติเคราะห์ร้ายลูกซึ่งเป็นที่รักตายเป็นที่สลดใจด้วยการที่รักษาไข้เจ็บ เห็นว่าแต่ลูกเราพิทักษ์รักษาเพียงนี้ยังได้ความทุกข์เวทนาแสนสาหัส ลูกราษฎรที่อนาถาทั้งปวงจะได้ความลำบากทุกข์เวทนายิ่งกว่านี้ประการใด ยิ่งทำให้มีความปรารถนาที่จะให้มีโรงพยาบาลยิ่งขึ้น ภายหลังกรมหมื่นดำรงราชานุภาพคิดการที่จะตั้งโรงพยาบาล ทำความเห็นมายื่น เห็นว่าเป็นทางที่จะจัดการตลอดได้ จึงได้ตั้งท่านทั้งหลายเป็นคอมมิตตีจัดการ แลได้ปรึกษากับแม่เล็กเสาวภาผ่องศรี มีความชื่นชมในการที่จะสงเคราะห์แก่คนที่ได้รับความลำบากด้วยป่วยไข้นี้ด้วย ยอมยกทรัพย์สมบัติของลูกที่ตายให้เป็นส่วนในการทำโรงพยาบาลนี้เป็นต้นทุน..."
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงบรรดาลพระราชหฤทัยปรารถนาที่จะมีโรงพยาบาลสำหรับอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ยิ่งขึ้น ดังนั้นในการจัดงานถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ และพระราชวงศ์อีก 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร นริศรราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรรุตมธำรงฯ และพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงกำหนดงานพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง ทรงพระกรุณาให้สร้างพระโกศลองทองเล็กทรงพระศพ ทรงโปรดเกล้าฯให้ราชวัตรทำเป็นเรือนรูปต่างๆ สิ่งก่อสร้างต่างๆให้ใช้ไม้จริง เมื่อเสร็จงานแล้ว โปรดเกล้าฯ พระราชทานสิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมทั้งเครื่องสังเค็ด ได้แก่ ตู้ โต๊ะ เตียงและเก้าอี้ ให้แก่กิจการโรงพยาบาล รวมทั้งได้พระราชทานเงินพระมรดกของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นทุนสำหรับสร้างโรงพยาบาล จำนวน ๗๐๐ ชั่ง (๕๖,๐๐๐ บาท) และได้ทรงพระราชทานนามโรงพยาบาลที่วังหลังนี้ว่า“โรงศิริราชพยาบาล” เพื่อเป็นพระอนุสรณ์ถึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์

นอกจากชื่อโรงพยาบาลแห่งแรกของแผ่นดินแล้ว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ยังได้นำพระมงคลนาม มาตั้งชื่ออาคาร สถานที่ และสิ่งอื่นๆ เพื่อเป็นพระอนุสรณ์ น้อมรำลึกถึงพระองค์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์

Aug 26, 2021
604 views
0 share

พระผู้ทรงเป็น “มงคลนาม”

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สรรพวิสุทธิมหุติมงคล อเนกนภดลดารารัตน์ สมันตบริพัตรวโรภาส อดิศรราชจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวโรรส วิสุทธิสมมตวโรภโตปักษ์ อุกฤษฐศักดิ์ อัครวรราชกุมาร(ศรก) พระราชโอรสลำดับที่ ๕๓ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และลำดับที่ ๕ ใน สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ (พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) ประสูติ ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร ห้องเขียว ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ (แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา จุลศักราช ๑๒๔๗) เมื่อแรกชาววังระบุพระนามว่า "ทูลกระหม่อมดาวร่วง" เพราะในคืนวันประสูติมีดาวร่วงมากจนเห็นเป็นสาย สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงเรียก "ลูกเอียด“ในราชสำนักจึงระบุพระนามว่า "ทูลกระหม่อมเอียดใหญ่“ ได้ทรงประชวรด้วยพระโรคบิด มีพระอาการพระองค์ร้อนจัด พระอาเจียนบ่อยๆ พระอาการปวดเบ่ง พระบังคนเหลวบ่อยครั้ง มีพระเสมหะและพระโลหิตเจือ ประชวรอยู่ ๑๘ วัน ได้สิ้นพระชนม์เวลา ๗ ทุ่ม ๒๔ นาที เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร พระชนมายุ ๑ ปี ๖ เดือน (๕๕๐ วัน) เป็นที่ทรงพระอาลัยเศร้าโศกแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นที่ยิ่ง ทรงประชวรพระวาโยเป็นอันมาก

“โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลของแผ่นดิน”

หลังการจัดตั้งคอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลได้ ๒ เดือน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ประชวรและสิ้นพระชนม์ระหว่างที่คณะคอมมิตีกำลังสร้างโรงพยาบาล จึงได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงคณะกรรมการสร้างโรงพยาบาลตอนหนึ่งว่า
“ภายหลังเกิดวิบัติเคราะห์ร้ายลูกซึ่งเป็นที่รักตายเป็นที่สลดใจด้วยการที่รักษาไข้เจ็บ เห็นว่าแต่ลูกเราพิทักษ์รักษาเพียงนี้ยังได้ความทุกข์เวทนาแสนสาหัส ลูกราษฎรที่อนาถาทั้งปวงจะได้ความลำบากทุกข์เวทนายิ่งกว่านี้ประการใด ยิ่งทำให้มีความปรารถนาที่จะให้มีโรงพยาบาลยิ่งขึ้น ภายหลังกรมหมื่นดำรงราชานุภาพคิดการที่จะตั้งโรงพยาบาล ทำความเห็นมายื่น เห็นว่าเป็นทางที่จะจัดการตลอดได้ จึงได้ตั้งท่านทั้งหลายเป็นคอมมิตตีจัดการ แลได้ปรึกษากับแม่เล็กเสาวภาผ่องศรี มีความชื่นชมในการที่จะสงเคราะห์แก่คนที่ได้รับความลำบากด้วยป่วยไข้นี้ด้วย ยอมยกทรัพย์สมบัติของลูกที่ตายให้เป็นส่วนในการทำโรงพยาบาลนี้เป็นต้นทุน..."
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงบรรดาลพระราชหฤทัยปรารถนาที่จะมีโรงพยาบาลสำหรับอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ยิ่งขึ้น ดังนั้นในการจัดงานถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ และพระราชวงศ์อีก 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร นริศรราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรรุตมธำรงฯ และพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงกำหนดงานพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง ทรงพระกรุณาให้สร้างพระโกศลองทองเล็กทรงพระศพ ทรงโปรดเกล้าฯให้ราชวัตรทำเป็นเรือนรูปต่างๆ สิ่งก่อสร้างต่างๆให้ใช้ไม้จริง เมื่อเสร็จงานแล้ว โปรดเกล้าฯ พระราชทานสิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมทั้งเครื่องสังเค็ด ได้แก่ ตู้ โต๊ะ เตียงและเก้าอี้ ให้แก่กิจการโรงพยาบาล รวมทั้งได้พระราชทานเงินพระมรดกของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นทุนสำหรับสร้างโรงพยาบาล จำนวน ๗๐๐ ชั่ง (๕๖,๐๐๐ บาท) และได้ทรงพระราชทานนามโรงพยาบาลที่วังหลังนี้ว่า“โรงศิริราชพยาบาล” เพื่อเป็นพระอนุสรณ์ถึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์

นอกจากชื่อโรงพยาบาลแห่งแรกของแผ่นดินแล้ว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ยังได้นำพระมงคลนาม มาตั้งชื่ออาคาร สถานที่ และสิ่งอื่นๆ เพื่อเป็นพระอนุสรณ์ น้อมรำลึกถึงพระองค์